ระบบไฟฟ้าเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงการทำงานของทุกองค์ประกอบภายในโรงงาน ดังนั้น
สายไฟโรงงาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้า จึงมีบทบาทอย่างมากต่อการขับเคลื่อนการผลิตและความปลอดภัยของทั้งระบบ
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านที่มีความจำเป็นต้องใช้สายไฟโรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในระดับสูงสุด วันนี้เราขอพามาทำความรู้จักทุกเรื่องที่ควรรู้ของสายไฟโรงงาน จะมีอะไรบ้าง เรามาดูพร้อมกันข้างล่างนี้เลย!
สายไฟโรงงานคืออะไร?สายไฟโรงงาน คือ สายไฟที่ใช้สำหรับเดินระบบไฟฟ้าภายในโรงงานมีหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังเครื่องจักร อุปกรณ์ และระบบต่าง ๆ
ความสำคัญของสายไฟในโรงงาน
- ส่งพลังงานไฟฟ้า: หน้าที่หลักของสายไฟคือการส่งพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังเครื่องจักร อุปกรณ์ และระบบต่าง ๆ ช่วยให้ระบบทั้งหมดของโรงงานสามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- รองรับการใช้งานหลากหลาย: โรงงานมีการใช้งานไฟฟ้าที่หลากหลาย สายไฟจึงต้องมีประเภทและขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน
- ความปลอดภัย: สายไฟที่ได้มาตรฐานและติดตั้งอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและอุบัติเหตุได้
ประเภทของสายไฟที่ใช้ในโรงงาน1. สายไฟ THW: เป็นสายไฟพีวีซีหุ้มฉนวน 1 ชั้น เหมาะสำหรับเดินสายไฟภายในอาคาร สามารถทนความร้อนได้ 70 องศา และสามารถใช้งานได้ทั่วไป
2. สายไฟ VCT: เป็นสายไฟพีวีซีหุ้มฉนวน 2 ชั้น สามารถทนความร้อนได้ 70 องศา เหมาะสำหรับเดินสายไฟในท่อร้อยสาย
3. สายไฟ XLPE: เป็นสายไฟที่มีฉนวน XLPE สามารถทนความร้อนได้ 90 องศา เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความทนทานสูง ทนความร้อน
4. สายไฟทนไฟ: เป็นสายไฟที่สามารถทนความร้อนสูง ทนไฟลาม เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น ห้องไฟฟ้า
5. สายไฟควบคุม: เป็นสายไฟที่มีฉนวนหลายชั้น เหมาะสำหรับงานควบคุมมอเตอร์ หรือระบบไฟฟ้าที่มีสัญญาณรบกวน
วิธีการตรวจสอบสายไฟในโรงงานการตรวจสอบและบำรุงรักษาสายไฟโรงงานอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุไฟฟ้า ยืดอายุการใช้งาน และช่วยให้ระบบไฟฟ้าในโรงงงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวิธีการตรวจสอบสภาพสายไฟ มีดังนี้
- การตรวจสอบด้วยสายตา
- ตรวจสอบรอยฉีกขาด รอยแตก รอยถลอก รอยไหม้ หรือแม้แต่รอยแตกลายงาและบวมของสายไฟ
- ตรวจสอบขั้วต่อสายไฟ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่หลวมและแน่นมากพอ
- ตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม เศษวัสดุ หรือสิ่งกีดขวางที่อาจมีผลต่อการทำงานของระบบไฟ
การตรวจสอบด้วยเครื่องมือ- ใช้เครื่องวัดค่าความต้านทานฉนวน (Megger) เพื่อวัดค่าความต้านทานของฉนวนสายไฟ
- ใช้เครื่องวัดกระแสไฟรั่วเพื่อวัดค่ากระแสไฟรั่วของสายไฟ
- ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera) เพื่อตรวจสอบจุดร้อนบนสายไฟ
วิธีการบำรุงรักษาสายไฟให้ใช้งานได้ยาวนาน- ทำความสะอาดสายไฟ : ใช้ผ้าแห้งหรือแปรงขนนุ่มทำความสะอาดฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันบนสายไฟ
- ทาจาระบี : ทาจาระบีที่ขั้วต่อสายไฟเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
- ตรวจสอบอุณหภูมิ : ตรวจสอบอุณหภูมิของสายไฟให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
- ป้องกันสายไฟจากความชื้น : ติดตั้งสายไฟในราง ท่อ หรือเดินสายไฟในแนวที่น้ำไหลผ่านไม่ได้
- ป้องกันสายไฟจากแสงแดด : ติดตั้งสายไฟในร่ม หรือทาสีทับสายไฟเพื่อป้องกันแสงแดด
สายไฟเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้าในโรงงาน ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรดูแลสายไฟโรงงานตามประเภทการใช้งานให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ระบบไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุภายในโรงงานได้