ผู้เขียน หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง…ทำไมต้องรักษา  (อ่าน 84 ครั้ง)

siritidaphon

  • บุคคลทั่วไป
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดแดงสูง หากไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวจะทำให้เกิดความเสียหายแก่อวัยวะหลายระบบในร่างกาย


การแปลผลค่าความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตมี 2 ค่า คือ

    ค่าตัวบน เป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบเลือดออกไปสู่ระบบไหลเวียนของโลหิต
    ค่าตัวล่าง เป็นค่าความดันโลหิตของหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัว


เมื่อไหร่จะบอกว่าเป็นความดันโลหิตสูง

ค่าตัวบน เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท

ค่าตัวล่าง เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท


หากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ในระยะยาวจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ดังนี้

    หลอดเลือดแดงแข็งตัว และตีบตันในอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย เช่น

    หลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจตีบตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีอาการเจ็บหน้าอก และหัวใจวายได้
    หลอดเลือดแดงในสมองตีบตัน ทำให้สมองขาดเลือด เนื้อสมองตาย หรือเส้นเลือดในสมองแตก เลือดออกในสมอง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
    หลอดเลือดแดงที่ไตตีบ ทำให้ไตเสื่อม และไตวายได้
    หลอดเลือดแดงในตาแข็งและตีบ อาจมีเลือดออกที่จอภาพ และประสาทตา ทำให้ตามัวหรือตาบอดได้
    หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงแขนขาตีบตัน ทำให้มือเท้าขาดเลือดเป็นแผลเรื้อรัง หายยาก
    หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอก และช่องท้องโป่งพอง และแตกทำให้เสียชีวิตได้ทันที

    หัวใจโต ทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจอ่อนแรง เกิดภาวะน้ำท่วมปอด และเหนื่อยง่าย


ทำไม?  ความดันโลหิตสูงต้องรักษา

ความดันโลหิต ที่ถูกละเลยเป็นเวลานาน จนเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคหัวใจ และอัมพาตทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

 

ความดันโลหิตสูง มีสาเหตุจากอะไร?

ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ (กว่า 90%) ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์อีกส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารและสิ่งแวดล้อม พวกนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควบคุมได้โดยการรับประทานยาเป็นประจำ

 

มีคนไข้อีก ราว 5% ที่มีความดันโลหิตสูงเนื่องจากโรคอื่น เช่น เนื้องอกของต่อมหมวกไต ซึ่งถ้าผ่าตัดออกความดันโลหิตก็จะกลับเป็นปกติและหายขาดได้ จะเห็นว่าโรคความดันโลหิต ส่วนใหญ่เป็นโรคประจำตัวไม่หายขาดจึงจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องหันภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิต

 

ความดันโลหิตสูง รักษาอย่างไร

การรักษาขั้นแรกเลย คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต ได้แก่

    ควบคุมอาหาร และน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วน โดยการลดอาหารประเภทไขมัน ได้แก่ อาหารที่ใช้เนย ไขมัน และน้ำมันในการปรุง
    ลดอาหารเค็ม เช่น ของดองเค็ม ซุปกระป๋อง อาหารที่โรยเกลือ
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที จะช่วยลดน้ำหนักและทำให้การไหลเวียนดีป้องกันโรคหลอดเลือดได้ ที่สำคัญผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนเริ่มออกกำลังกายครั้งแรกควรปรึกษาแพทย์
    หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด
    งดดื่มสุราและสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
    รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

 

จะเห็นได้ว่าภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหากับระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย การพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและการตรวจสภาพหลอดเลือดส่วนปลายด้วยเครื่อง ABI และการตรวจสภาพหลอดเลือดหัวใจด้วยเทคโนโลยีเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลซ์ (CT-64 Slices) จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก และหาทางป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

 

ความดันโลหิตสูง รับประทานยาอะไรดี

ปัจจุบันมียาควบคุมความดันโลหิตสูงออกมามากมายหลายชนิด คนไข้แต่ละคนตอบสนองต่อยาชนิดต่างๆ ไม่เหมือนกัน หากมียาชนิดใดที่รับประทานแล้วทำให้รู้สึกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพื่อแพทย์จะได้ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน บางคนรับประทานยาแค่ครึ่งเม็ดความดันก็ลดลงเป็นปกติได้ดี บางคนต้องรับประทานหลายชนิด จึงควบคุมความดันได้

 

ทำอย่างไร จึงจะทราบว่า ความดันดีแล้ว

ต้องวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ การมาพบแพทย์วัดความดัน 2-3 เดือน ต่อครั้งก็ไม่เพียงพอ ควรเรียนรู้วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอลวัดความระดับความดันเองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องวัดถี่เกินความจำเป็นและควรจดบันทึกเวลา ค่าที่วัดได้ทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ของท่านในการควบคุมความดันโลหิต อาการปวดหัวเป็นตัววัดว่าความดันลดลงดีแล้ว


โรคความดันโลหิตสูง…ทำไมต้องรักษา อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/247

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google