ผู้เขียน หัวข้อ: เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์: ตรวจมีบุตรยากต้องตรวจอะไรบ้าง?  (อ่าน 58 ครั้ง)

nenechan

  • บุคคลทั่วไป

   ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน เทรนด์ของคนวัยแต่งงานจะเริ่มวางแผนคู่ชีวิตกันแบบไร้บุตรมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นกันทั้งคุณ เพียงแต่อาจจะต้องรอเวลาให้ตั้งตัวได้ แต่เมื่อถึงอายุช่วงนั้นก็อาจจะเข้าสู่ช่วง “ภาวะมีบุตรยาก” ไปเสียก่อน

   จะทำอย่างไร? หากเตรียมตัวและวางรากฐานจนมั่นคง พร้อมที่จะปั๊มลูกแต่พยายามมากแค่ไหนก็เหมือนจะไม่ติดสักที แบบนี้ต้องกลับมาตั้งหลักใหม่ พร้อมให้แพทย์เฉพาะทางได้เข้าช่วยดูแล ลองมาดูกันดีกว่าการตรวจมีบุตรยาก จะต้องตรวจอะไรบ้าง มาหาข้อมูลเบื้องต้นกันได้ที่ด้านล่างนี้เลย


เช็กลิสต์น่ารู้ : คุณเข้าข่ายการปรึกษาเพื่อตรวจภาวะมีบุตรยากหรือไม่?

   ก่อนจะไปถึงเซสชั่นของรายการตรวจมีบุตรยากว่าควรตรวจอะไรบ้าง หนึ่งสิ่งที่ต้องสำรวจก่อนเข้าพบแพท์ คือการเช็กตัวเองว่าเข้าข่ายจริง ๆ แล้วใช่ไหม หรือแค่โชคไม่ดีเฉย ๆ หากอยากรู้แล้ว ลองมาดูตามเช็กลิสต์ด้านล่างนี้กัน

คนที่อายุยังไม่ถึง 35 ปี มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดในระยะ 12 เดือน แล้วยังไม่มีบุตร
สำหรับคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดในระยะ 6 เดือน แล้วยังไม่มีบุตร

   หากคุณเข้าเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งด้านบนนี้ หรือเคยพยายามมีเพศสัมพันธ์จนตั้งครรภ์แต่เกิดภาวะแท้งธรรมชาติ ทางการแพทย์จะถือว่าอยู่ในภาวะมีบุตรยาก ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุดกันต่อไป

“ตรวจมีบุตรยาก” ต้องทำการตรวจอะไรบ้าง?

หลังจากได้รู้กันไปแล้วว่าคุณทั้งคู่กำลังเป็นคนที่เข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก ทีนี้มาถึงขั้นตอนของการเข้ารับคำปรึกษาและแก้ไขให้ตรงจุด โดยการตรวจมีบุตรยากจะต้องตรวจอะไรบ้าง เราจะแบ่งตามรายการของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ดังนี้

ฝ่ายหญิง
   เริ่มจากการตรวจมดลูก ท่อนำไข่ ฮอร์โมนเพศ เพื่อดูว่าแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อน สามารถทำงานได้ปกติดีหรือไม่ มีภาวะการอุดตัน ผนังมดลูกหนาหรือบางเกินไป หรือมีภาวะอื่นใดที่ทำให้ไม่เอื้อต่อการฝังตัวหรือเปล่า โดยการตรวจมีบุตรยากในผู้หญิง จะต้องตรวจอะไรบ้าง คร่าว ๆ ก็จะมีตามรายการด้านล่างนี้

ใช้กล้องขนาดเล็กตรวจภายในมดลูก
ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติในถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
ตรวจฮอร์โมนจากเลือด

ฝ่ายชาย
   ในส่วนของฝ่ายชาย หากสงสัยว่าการตรวจมีบุตรยากต้องตรวจอะไรบ้าง คงต้องเน้นไปที่น้ำเชื้อ แหล่งอสุจิที่สำคัญต่อการปฏิสนธิ โดยแพทย์จะตรวจสอบความสมบูรณ์เป็นหลัก ตามวิธีการดังนี้
ปริมาณตัวอสุจิในน้ำเชื้อ
ความเร็วในการเคลื่อนไหวอสุจิ
ขนาด รูปร่าง ความสมบูรณ์ของอสุจิ

ในการตรวจน้ำเชื้อ ผู้รับการตรวจอาจต้องเตรียมตัวล่วงหน้า เช่น งดมีเพศสัมพันธ์และหลั่งอสุจิอย่างน้อย 2-3 วันก่อนรับการตรวจ แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน งดดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญคือขณะเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิ จะต้องล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาดด้วยสบู่ และไม่ลืมล้างมือให้แห้งก่อนเก็บด้วย



 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google