ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสายยาง: ผลข้างเคียงของการให้อาหารทางเส้นเลือด  (อ่าน 217 ครั้ง)

siritidaphon

  • บุคคลทั่วไป
การให้อาหารสำหรับผู้ป่วยถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะต้องจำกัดในเรื่องของปริมาณและสารอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทั้งยังต้องกระทำการให้อาหารโดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในการให้อาหารสำหรับผู้ป่วย ซึ่งวิธีการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยนั้นมีด้วยกัน3 รูปแบบ ที่มักพบได้บ่อยคือการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย และสุดท้ายการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ซึ่งวันนี้ทางเราจะมาพูดถึงการให้อาหารทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย


สำหรับการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้น เป็นการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินอาหารผิดปกติหรือระบบทางเดินอาหารไม่ทำงาน ซึ่งร่างกายผู้ป่วยจะต้องได้รับสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆภายในร่างกาย เพราะถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้รับสารอาหารอาจจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมาก สำหรับการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้นจะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับสารอาหารอย่างเพียงพอโดยวิธีการรับประทานอาหารทางปากได้

    ผู้ป่วยมีตับอ่อนอักเสบรุนแรง
    มีการตัดต่อลำไส้มี
    เส้นเลือดที่เลี้ยงลำไส้ขาดเลือด
    ลำไส้ไม่มีตัวหรือลำไส้อุดตัน


สำหรับวันนี้ เราจะมาพูดถึง ผลข้างเคียงของการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ เพราะการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้นจะต้องมีผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในการให้อาหารแก่ผู้ป่วย เพราะการให้อาหารทางหลอดเลือดดำเป็นวิธีการในการรับสารอาหารของผู้ป่วย ที่มีระบบทางเดินอาหารผิดปกติหรือไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งผลข้างเคียงจากการให้อาหารทางหลอดเลือดก็มีอยู่บ้าง สำหรับผลข้างเคียงที่พบมากที่สุดคือเกิดแผลภายในช่องปาก การมองเห็นเสื่อมสภาพ และมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีอาการหัวใจวาย อาการหงุดหงิด อาการชัก หายใจลำบาก มีน้ำหนักตัวเพิ่งหรือลดอย่างรสดเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย เป็นไข้ อาการปวดท้อง หรือบางครั้งอาจจะอาเจียน เพราะฉะนั้นหากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบเข้าพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้ผู้ดูแลจะต้องมีการจัดเตรียมสำหรับการให้อาหารทางเลือด จะต้องมีการกำหนดคุณค่าทางโภชนาการที่แน่นอนให้แก่ผู้ป่วย สารอาหารจะต้องครบถ้วน มีการกำหนดปริมาณอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ผลข้างเคียงอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและความเสี่ยงอื่นไได้ยกตัวอย่าง เช่น เกิดลิ่มเลือด เป็นโรคตับ โรคกระดูก เพราะฉะนั้นการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ผู้ดูแลจะต้องระมัดระวังและต้องหมั่นสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น อาจจะใส่หรือว่าปลายสายอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง เกิดการแข็งตัวของเลือด ภาวะปอดล้มเหลว ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป รับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ หรือระดับเอนไซม์ของตับมีค่าสูงขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้ผู้ดูแลจัดต้องคอยสังเกตอาการ และควรหมั่นตรวจสอบความถูกต้องให้ละเอียดก่อนการให้สารอาหารแก่ผู้ป่วยทุกครั้ง

 

สำหรับวิธีการใส่สายยางให้อาหารทางหลอดเลือดดำ อาจถูกต่อเข้ากับเส้นเลือดดำเข้าสู่บริเวณหน้าอกหรือต้นแขน โดยสายให้สารอาหารจะถูกต่อเข้ากับเส้นเลือดดำผ่านทางผิวหนังบริเวณหน้าอกส่วนบนและจะถูกสอดเข้าสู่เส้นเลือดดำที่ต้นแขนโดยทีมแพทย์ เพื่อให้สำหรับการให้อาหารในระยะสั้น หลังจากที่มีการถอดสายยางแล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจหาการติดเชื้อหรือเลือดออกบริเวณที่สอดสายยางอยู่เสมอ และควรงดยาบางประเภทที่ให้โดยการฉีดเข้าเส้นเลือด เพราะยาและสารบางประเภทอาจจะไม่ปลอดภัยเมื่อมีการผสมกับสารอาหารที่ฉีดเข้าไปภายในร่างกายที่ให้ผ่านทางเส้นเลือด

ดังนั้น จึงควรที่จะมีการปรึกษากับเภสัชกรและแพทย์ก่อนการผสมยาหรือสารอื่น ๆทุกครั้ง ทางเราอยากแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับโรคเพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งนี้ทางเรามีบริการอาหารทางสายยาง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ และต้องให้อาหารทางสายยาง ทางเรามีทีมนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารเพื่อผู้ป่วยมีการควบคุมการผลิตโดยมาตรฐานผลิตอาหารปั่นผสมภายในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาล จึงทำให้มั่นใจได้ว่าอาหารปั่นผสม มีความสะอาดปลอดภัยถูกสุขลักษณะเมื่อผู้ป่วยได้รับสารอาหารก็จะมีความปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างแน่นอน


อาหารสายยาง: ผลข้างเคียงของการให้อาหารทางเส้นเลือด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google