การเลือกถังดับเพลิง มีรายละเอียดค่อนข้างมาก เพราะถังดับเพลิงแต่ละชนิดจะใช้ดับเพลิงได้คนละอย่างกัน ถังดับเพลิงที่นิยมใช้งานคือถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง เพราะหาซื้อได้ง่ายและราคาถูก ถังสีแดง สามารถใช้ดับเพลิงได้หลายประเภท แต่สำหรับบ้านที่มีการทำอาหารที่ใช้ไฟอยู่บ่อยครั้ง ควรเลือกถังดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท K ได้ด้วย โดยถังดับเพลิงจะสามารถแบ่งประเภทได้ตามสิ่งที่ใช้บรรจุอยู่ในถังดังนี้
1. Dry Chemical Powder
ผงเคมีแห้ง เป็นถังดับเพลิงที่ใช้ผงโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือผงโพแทสเซียมไบคาร์บอเนต และมีสารกันชื้นผสมอยู่ด้วย ข้อดีคือใช้ได้ทั่วไป ราคาถูก ข้อเสียคือใช้แล้วสารจะฟุ้งกระจาย ทำให้สกปรก ใช้แล้วต้องส่งบรรจุใหม่ สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A,B,C
2. Halotron
ฮาโลตรอน เป็นถังดับเพลิงที่ใช้สารเหลวระเหย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย สะอาด ไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังใช้ มีอายุการใช้งานนาน เหมาะกับการรักษาทรัพย์สินในห้องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A,B,C
3. Water Chemical
เคมีสูตรน้ำ เป็นถังดับเพลิงที่ใช้น้ำยาที่เรียกว่า ABFFC สามารถใช้ดับเพลิงได้ทุกประเภท หรือตั้งแต่ A,B,C,D,K ทำให้มีราคาสูง เหมาะในการวางไว้ใกล้ครัว
4. CO2
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นถังดับเพลิงที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ไปลดก๊าซออกซิเจนลงเพื่อให้ไฟดับ ใช้แล้วไม่เหลือกากหรือคราบสกปรกไว้ แต่ไม่เหมาะกับการใช้ในที่ลมแรง โดยควรอพยพคนก่อนใช้ เนื่องจากคนจะหายใจไม่ออกเพราะขาดออกซิเจน ใช้ดับเพลิงประเภท B, C
5. FOAM
โฟม เป็นถังดับเพลิงที่ใช้น้ำผสมโฟมเข้มข้น โดยโฟมจะปกคลุมบริเวณผิวหน้าของเชื้อเพลง ช่วยลดปริมาณออกซิเจนและทำให้เพลิงไม่ลุกลาม สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A, B อนึ่งห้ามนำไปดับเพลิงประเภท C เพราะมีน้ำเป็นส่วนผสม ซึ่งเป็นสื่อนำไฟฟ้า อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน เหมาะกับห้องที่มีการเก็บเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ น้ำมัน ยางมะตอย
6. Water Pressure
น้ำสะสมแรงดัน เป็นถังดับเพลิงที่ใช้น้ำเป็นตัวดับเพลิง ใช้ดับเพลิงประเภท A อนึ่งห้ามนำไปดับเพลิงประเภท C เพราะมีน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน เหมาะนำไปวางไว้ในห้องที่มีเชื้อเพลงประเภทกระดาษ โรงงานเสื้อผ้า
บริหารจัดการอาคาร: ประเภทของถังดับเพลิง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/