ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: 5 ขั้นตอนตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตัวเอง  (อ่าน 49 ครั้ง)

siritidaphon

  • บุคคลทั่วไป
บริหารจัดการอาคาร: 5 ขั้นตอนตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตัวเอง

วิธีตรวจระบบไฟฟ้าบ้าน
ระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรหมั่นตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา มาดูวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน


ตรวจระบบไฟฟ้า

1. เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าในบ้าน เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1 – 3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์


2. ตรวจสอบเมนสวิตช์

ดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้าในบ้าน ได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย


3. ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง

โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่โดยด่วน


4. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า

ดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบ


5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยตรวจว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ ถ้าหลอดไฟติดหรือเรืองแสง แสดงว่ามีไฟรั่วให้หยุดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นทันที และตรวจเช็กว่ามีการติดตั้งสายดินถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ติดตั้งสายดินให้เรียบร้อย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ไม่เกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูด

หมายเหตุ : ถ้าเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน และแก้ไขเบื้องต้นแล้วยังพบปัญหาอยู่ แนะนำให้เรียกช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาช่วยแก้ไข และในขณะที่ปลดเมนสวิตช์เพื่อทำการซ่อมแซมนั้น ให้เขียนป้ายเตือนไว้ว่า “ห้ามสับไฟ! ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน” แขวนไว้ที่เมนสวิตช์ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานด้วยนะครับ


TIP : วิธีแก้ไขไฟรั่ว (ไฟดูด) จากเครื่องใช้ไฟฟ้า

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟรั่วหรือไฟดูดขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดด้วยการถอดปลั๊ก ปิดเมนสวิตช์ และงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ อย่างไรก็ตามวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ติดตั้งระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน และควรติดตั้งเบรกเกอร์กันดูดเพิ่มเติมด้วย โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติ เช่น เครื่องซักผ้าชำรุด อาจมีกระแสไฟรั่วออกมาที่ตัวเครื่อง เมื่อเราไปจับหรือสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ เบรกเกอร์ก็จะตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน
    ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย แนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดที่มีพิกัดกระแสไฟรั่วไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำ โรงจอดรถ ห้องครัว รวมไปถึงการใช้งานภายนอกบ้าน และวงจรย่อยสำหรับเครื่องทำน้ำร้อน/น้ำอุ่น และอ่างอาบน้ำวน

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google