ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง กับแบบจำลองเสียงรบกวนของคูลลิ่งทาวเวอร์  (อ่าน 293 ครั้ง)

siritidaphon

  • บุคคลทั่วไป
หลักการและเหตุผล

คูลลิ่งทาวเวอร์หรือหอระบายความร้อนขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการที่อยู่ใกล้กับชุมชน จะมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวคือเสียงทุ้มต่ำที่มาพร้อมกับการรับรู้ได้ถึงความสั่นสะเทือน ส่งผลให้ผู้รับเสียงที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งคูลลิ่งทาวเวอร์เกิดความรำคาญทั้งวันทั้งคืนจนไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างคนปกติ ด้วยเหตุที่มีลักษณะเสียงทุ้มต่ำการแก้ปัญหาด้วยการใช้วัสดุดูดกลืนเสียง (absorptive materials) ในการแก้ปัญหาจึงไม่ค่อยได้ผล การทราบถึงสัดส่วนการรบกวนจึงช่วยให้การลดเสียงทำได้ตรงจุด วางแผนการปรับปรุงได้ ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน


ความจำเป็น

การดำเนินการลดเสียงรบกวนจากคูลลิ่งทาวเวอร์ต้องทำด้วยความรอบคอบ เพราะหากใช้วิธีการลดเสียงแล้วเกิดผลทางด้านลบตามมา เช่น การแลกเปลี่ยนความร้อนไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของระบบเกิดความร้อนสะสมมากกว่าปกติ มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่ไม่คาดคิดเพิ่มเข้ามา ถือว่างานลดเสียงที่ทำไปไม่มีประสิทธิผลตามที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เองการทำตัวแบบจำลองของเสียงรบกวนที่เกิดจากคูลลิ่งทาวเวอร์จึงช่วยให้มองเห็นต้นเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน ทราบว่าเสียงดังสุดมาจากส่วนประกอบใด จะต้องเริ่มแก้ปัญหาที่ส่วนไหนก่อน ด้วยวัสดุอะไร ค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน และระยะเวลาที่ต้องใช้ดำเนินการ


แนวทางการทำงาน

1.    วัดขนาดของคูลลิ่งทาวเวอร์ ระยะสูง ระยะห่างจากผู้รับเสียง

2.    เก็บข้อมูลเสียงโดยรอบคูลลิ่งทาวเวอร์รวมถึงพื้นที่ผู้รับเสียง

3.    จัดทำตัวแบบจำลองสถานการณ์เสียงแยกตามเหตุการณ์ต่างๆ

4.    วิเคราะห์สัดส่วนการรบกวน (Annoyance Rational Analysis)

5.    เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดเสียงรบกวนในแต่ละจุด
 
ฉนวนกันเสียง กับแบบจำลองเสียงรบกวนของคูลลิ่งทาวเวอร์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

 

ลงประกาศฟรี ติด google ลงโฆษณา ขายของ ฟรี โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ขายฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google